ในฤดูกาลที่ย่างเข้าหน้าฝนแบบนี้ หลายๆ คนมักจะประสบปัญหาต่างๆ มากมาย ไม่ว่าเป็นหลังคารั่วบ้าง น้ำขังบริเวณบ้านบ้าง
ดังนั้นการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับบ้านและสวนสวยของท่านในช่วงหน้าฝนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็น อย่างยิ่ง
วันนี้มีข้อมูลดีๆ จากคอลัมน์ "คนรักบ้าน" นิตยสารชีวิตชีวาของบริษัทธารารมณ์ฯ มาฝาก เริ่มต้นที่ การดูแลรักษา "บ้าน" มีบัญญัติ 6 ข้อจำจงดี ดังนี้
1.หมั่นสำรวจตามผนังและฝ้าเพดานว่ามีรอยรั่วซึมหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังฝนตก หากพบรอยรั่วซึมจะได้รีบแก้ไขได้ทันท่วงที
2.หมั่น ทำความสะอาดพื้นรอบบ้านหลังฝนตก เพื่อไม่ให้เศษขยะไปทับถมในท่อระบายน้ำและไม่ให้มีตะไคร่จับ หรือเป็นคราบดินโคลนเพราะอาจจะทำให้สมาชิกในบ้านลื่นหกล้มได้
3.หมั่นเก็บกวาดเศษใบไม้รอบบ้านที่ร่วงหล่น โดยเฉพาะในช่วงฝนตก เพื่อไม่ให้อุดตันในท่อระบายน้ำ
4.ทำความสะอาดท่อระบายน้ำทิ้ง เพื่อป้องกันท่อตันและน้ำขังบริเวณพื้นบ้าน
5.ทำลาย แหล่งน้ำขัง เพื่อป้องกันยุงร้าย ปิดภาชนะที่มีน้ำขังอยู่ อาทิ โอ่ง ถังน้ำ ให้มิดชิด ทำลายภาชนะที่มีน้ำขังที่ไม่ใช้แล้ว
และควรเปลี่ยนน้ำในกระถางต้นไม้และแจกันเป็นประจำเพื่อป้องกันยุงวางไข่
6.เตรียมไฟฉายและเทียน เมื่อฝนตกฟ้าคะนอง มักจะตามมา ด้วยปัญหาไฟฟ้าขัดข้องอยู่บ่อยๆ ดังนั้นท่านควรเตรียมไฟฉาย เทียน ไฟแช็ก เผื่อในยามไฟฟ้าดับ
สถานที่เก็บควรเป็นสถานที่สามารถหาหยิบได้ง่าย เช่น ในห้องรับแขกหรือในห้องนอน เป็นต้น
สำหรับการดูแลสวนสวยใน
ฤดูฝน แนะนำ 3 ข้อจำจงดีดังนี้
1.การ พรวนดินให้ร่วนซุยเป็นประจำจะทำให้ดิน โปร่ง มีช่องว่างให้เนื้อดินดูดซับน้ำไว้ได้มาก และทำให้น้ำซึมซับลงในระดับที่ลึกกว่าปกติ ทำให้ดินไม่ขังน้ำและทำให้รากเน่า
2.กางร่มให้ต้นไม้ สำหรับพันธุ์ไม้บางชนิดที่บอบบาง ไม่ทนต่อสภาพฝนตกหนักๆ อาทิ กล้วยไม้ ควรสร้างหลังคาหรือนำไม้มากันฝน เพื่อยืดอายุกับพันธุ์ไม้เหล่านี้ 3.ตัดกิ่งต้นไม้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ตัวบ้าน เพื่อป้องกันมิให้กิ่งไม้หักหรือพัดมาโดนตัวบ้านเวลามีลมพายุแรงๆ
ท่านสามารถนำข้อแนะนำการดูแลรักษาบ้านและสวน มาประยุกต์ใช้ในช่วงฤดูฝนนี้ เพื่อช่วยให้บ้านและสวนของท่านน่าอยู่ยิ่งขึ้น
การดูแลผนังบ้านในฤดูฝน
การเตรียมตัวรับปัญหาบ้านหน้าฝนหน้า ฝนบ้านเรานั้นยาวนาและหนักหนาพอสมควร การดูแลรักษาบ้านเพ่อพร้อมรับหน้าฝนเป็นสิ่งที่ไม่ควรหลีกเลี่ยงเกี่ยงทำ
เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ การดูแลผนังบ้านผนังบ้านมีจุดอ่อนมากมายที่อาจจะเป็นปัญหา หรือบางท่านอาจกำลังประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ก็ได้
ขอเริ่มจาก ผนังปูน (ก่ออิฐฉาบปูน ) ผนังประเภทนี้มีปัญหาสากลคือ การร้าว สาเหตุของการร้าวมีดังนี้
1. ร้าวเนื่องจากอิฐทรุดตัวส่งผลให้ปูนฉาบร้าวหากทรุดตัวมากผนังเสียรูปคือบวม หรือเบี้ยวต้องมีการทุบและก่อใหม่แต่ส่วนมากไม่รุนแรงมาก
การแก้ไขทำได้โดย สกัดผิวและฉาบแต่งใหม่ด้วยปูนฉาบหรือวัสดุกันซึมต่างๆ
2.ร้าวเนื่อง จากปูนฉาบหดตัวสาเหตุหลักมาจากช่วงเวลาของการฉาบการฉาบปูนภายนอกอาคารหากฉาบ ในช่วงเวลาที่อากาศร้อนจัดหรือผนังอยู่ฝั่งที่โดนแสงแดดโดยตรง
จะส่งผลให้ ผนังหดตัวเนื่องจากปูนฉาบแห้งเร็วเกินไปการแก้ไขทำได้โดยยาแนวรอบรอยร้าว ด้วยวัสดุกันซึมที่ไม่มีการยืดหดตัวสูง
3.การรั่วซึมอีกอย่างของผนัง ปูนคือการที่มีการฉาบผนังเพียงด้านเดียวพบมากกับอาคารประเภทตึกแถวหรือผนัง ที่สร้างชิดแนวเขตที่ดินการก่อผนังแล้วปล่อยเปลือย
จะส่งผลให้น้ำซึมผ่านรอย ต่อของอิฐเข้ามาสู่ผนังด้านในเนื่องจากไม่มีปูนฉาบเป็นตัวขวางกั้นอีกทั้ง ตัวอิฐมอญ(อิฐสีแดง),คอนกรีตบล็อค(สีเทาๆ)หรือคอนกรีตมวลเบา(สีขาวๆ)
จะมี คุณสมบัติในการดูดซึมน้ำดังนั้นนอกจากน้ำจะรั่วแล้วผนังยังจะชื้นตลอดเวลา ทางทีีควรจะฉาบผนังทั้งสองด้านและผนังด้านนอกควรผสมกันซึมลงในปูนฉาบด้วย
4. การรั่วซึมเนื่องจากปูนฉาบหรือวัสดุเคลือบผิวหมดสภาพสิ่งของทุกอย่างมีอายุ การใช้งานสีทาอาคารจะมีอายุการใช้งานสูงสุด10ปีดังนั้นต้องหมั่นดูแลรักษา
ทาสีเพื่อรักษาตัวปูนฉาบด้วยส่วนปูนฉาบจะมีอายุการใช้งานประมาณ 20-25ปีหลังจากนั้นเนื้อปูนจะสูญเสียประสิทธิภาพลักษณะจะร่วนและไม่เกาะตัว
ทำให้อาคารเก่าบางแห่งรั่วซึมเนื่องจากปูนฉาบอาคารหมดสภาพการดูแลรักษาด้วย การหมั่นตรวจสอบและซ่อมแซมการใช้วัสดุทาผิวที่มีคุณสมบัติดีป้องกันแสงแดด
และมีการยึดเกาะสูงจะช่วยยืดอายุการใช้งานของผนังฉาบ
ผนังไม้
บ้าน ที่เป็นผนังไม้ส่วนใหญ่เป็นบ้านอายุเกิน 30 ปี ที่พบในปัจจุบันส่วนใหญ่ลักษณะผนังจะเป็นการซ้อนเกล็ดในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งทางนอน ทางตั้ง และบ้านเรือนไทยฝาปะกน
สาเหตุหลักของบ้านฝาไม้ที่เกิดการรั่วซึมเนื่องจากการยืดหดตัวของไม้ และการที่ไม้แตก สิ่งที่กระตุ้นอาการเหล่านี้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการอยู่ของเจ้าของเดิม
บ้านเหล่านี้ก่อสร้างภายใต้สภาพแวดล้อมอากาศตามธรรมชาติ เมื่อเวลาผ่านไปการใช้เครื่องปรับอากาศกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพื่อลดความร้อน
จากสภาพอากาศ เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิภายในกับภายนอก ทำให้ไม้เกิดการยืดหดตัวรุนแรง เกิดร่องรอย และบางทีแผ่นไม้แตกตามรอยตะปู เนื่องจากการบิดตัว
ส่งผลให้น้ำสามารถลอดผ่านเข้ามาภายในบ้าน การแก้ไข คือ หากต้องการติดเครื่องปรับอากาศ ท่านจะต้องลงทุนกรุผนังภายในด้วยยิปซั่มบอร์ด เพื่อรักษาอุณหภูมิภายในไว้
และป้องกความร้อนเข้าและเนื่องจากยิปซั่มต้อง มีโครง อากาศภายในช่องว่างจะทำหน้าที่เป็นฉนวน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงพอประมาณแต่คุ้ม(ต.ร.ม ละ 350-380บาท)
เพราะจะช่วยท่านประหยัดไฟด้วยเนื่องจากท่านทำห้องให้เป็นเหมือนคูลเลอร์
ผนังวัสดุอื่น ๆ
ผนัง วัสดุอื่น ๆ มักเกิดการรั่วซึมสาเหตุเกิดจากรอยต่อวัสดุที่ไม่ดี ต่อไม่ถูกต้องตามการติดตั้งของผู้ผลิต การต่อของวัสดุต้องเป็นไปตามมาตรฐานของผู้ผลิตมักไม่มีปัญหา
วัสดุอื่นที่นิยมใช้และพบว่ารั่ว คือ ผนังกระจก ผนังกระจกจะรั่วบริเวณกระจกต่อกับวัสดุอื่นโดยเฉพาะวัสดุที่มีอัตราการยืดหดตัวสูง เช่น ไม้ และเหล็ก ต้องดูแลวัสดุยาแนว(ซิลิโคน)ว่า
1. ยาแนวได้ดีถูกต้องไม่มีฟองอากาศ
2. ซิลิโคนมีอายุการใช้งานประมาณ 5-7 ปี ต้องดูแลว่าใกล้หมดอายุหรือไม่ และต้องมีการดูแลรักษาตามวาระนะคะ หวังว่าข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้คงจะช่วยท่านผู้อ่าน
เตรียมตัวรับหน้าฝนที่กำลังจะมาเยือนได้
Source : www.grizzlybear.bloggang.com