เก๊ะยาดังกล่าวหรือลิ้นชักบรรจุยาสมุนไพรหลากหลายชนิดเป็นมรดกจากรุ่นสู่รุ่น จาก "ก๋งจู๋" ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรไทยแห่งร้านยาโพธิ์เงินโอสถ เครื่องหมายการค้าตรา "นางกินนร" ที่เปิดรักษาชาวบ้านในย่านตลาดพลู มากว่า 60 ปี ถูกส่งตรงมายังโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เพื่อเติมเต็มรูปแบบของร้านยาไทยโบราณให้สมบูรณ์
ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร กรรมการบริหารมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า โรงพยาบาลได้รวบรวมสมุนไพรหลากหลายชนิด มีทั้งชนิดที่คุ้นเคยกันดี สมุนไพรหายาก ตลอดจนตำรับยาโบราณทั้งยาต้มและยาบดเป็นผง รวมแล้วมากกว่า 700 ชนิด ไม่เว้นแม้แต่ศาสตร์การจัดยา เจียดยาไทยในอดีต ที่รวบรวมมาจากเครือข่ายหมอยาและตำรายาในทุกภูมิภาค
เธอยอมรับว่าสถานการณ์สมุนไพรไทย ณ ตอนนี้ อยู่ในขั้นวิกฤติ "คัมภีร์มีชีวิต" ที่จารึกอยู่ในตัวหมอยาที่แก่ชรากำลังค่อยๆ สาบสูญ เมื่อภูมิปัญญาไม่ได้รับการถ่ายทอด และคนในยุคปัจจุบันนิยมพึ่งพายาตะวันตกมากว่ายาไทย
เธอยอมรับว่าสถานการณ์สมุนไพรไทย ณ ตอนนี้ อยู่ในขั้นวิกฤติ "คัมภีร์มีชีวิต" ที่จารึกอยู่ในตัวหมอยาที่แก่ชรากำลังค่อยๆ สาบสูญ เมื่อภูมิปัญญาไม่ได้รับการถ่ายทอด และคนในยุคปัจจุบันนิยมพึ่งพายาตะวันตกมากว่ายาไทย
เสน่ห์สมุนไพรไทย
จุดเด่นที่ยาสมุนไพรไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากลภญ.สุภาภรณ์ บอกว่า เป็นเพราะสมุนไพรไทยตอบสนองและสื่อสารกันได้ระหว่างแพทย์แผนไทยกับแพทย์แผนตะวันตก หรือใช้แทนกันได้ เช่น การรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ คนไข้สามารถประเมินอาการเองได้ อย่าง ท้องเสีย ปวดหัว หรือมีบาดแผล
"ทำให้ยาไทยยังอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ เช่น ยาสตรีบำรุงเลือด ร้อนในกินยาขม เป็นหวัดกินฟ้าทะลายโจร หลังคลอดต้องอยู่ไฟเพื่อบำรุง แต่เท่าที่ผ่านมาคนรุ่นใหม่มักจะลืมความสำคัญของยาแผนไทย โดยละทิ้งสิ่งที่มีค่าไป" เธอกล่าวและว่าในอดีตตัวเธอเองก็ไม่คิดว่าจะมาสนใจยาแผนที่หรือปั้นยาลูกกลอนขาย แต่ปัจจุบันมีความเชื่อมั่น และหันมาจับงานด้านสมุนไพรโดยตรง ทั้งวิจัย รวมถึงส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
"สิ่งที่มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรทำคือ พยายามกระตุ้นให้เกิดการใช้สมุนโพรอย่างแพร่หลาย ทั้งผลิตยาสมุนไพรในรูปของผลิตภัณฑ์เพื่อให้ใช้งานง่าย รวมถึงให้คำปรึกษาสำหรับคนที่ต้องการใช้ยาสมุนไพรรักษาแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร" เธอกล่าว
นอกจากนี้ยังได้ผนึกกำลังกับคนในชุมชนเพื่อค้นหาหมอยาพื้นบ้านเปิดพื้นที่รักษา และให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมอนุรักษ์พันธ์สมุนไพร เป็นการเก็บรวบรวมองค์ความรู้พัฒนาต่อยอดยาปฏิชีวนะในอนาคต ซึ่ง ณ ปัจจุบันคลินิกแพทย์แผนไทยได้รับการสนับสนุนให้ทัดเทียมกับคลินิกแพทย์แผนจีนในหลายโรงพยาบาล
จุดเด่นที่ยาสมุนไพรไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากลภญ.สุภาภรณ์ บอกว่า เป็นเพราะสมุนไพรไทยตอบสนองและสื่อสารกันได้ระหว่างแพทย์แผนไทยกับแพทย์แผนตะวันตก หรือใช้แทนกันได้ เช่น การรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ คนไข้สามารถประเมินอาการเองได้ อย่าง ท้องเสีย ปวดหัว หรือมีบาดแผล
"ทำให้ยาไทยยังอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ เช่น ยาสตรีบำรุงเลือด ร้อนในกินยาขม เป็นหวัดกินฟ้าทะลายโจร หลังคลอดต้องอยู่ไฟเพื่อบำรุง แต่เท่าที่ผ่านมาคนรุ่นใหม่มักจะลืมความสำคัญของยาแผนไทย โดยละทิ้งสิ่งที่มีค่าไป" เธอกล่าวและว่าในอดีตตัวเธอเองก็ไม่คิดว่าจะมาสนใจยาแผนที่หรือปั้นยาลูกกลอนขาย แต่ปัจจุบันมีความเชื่อมั่น และหันมาจับงานด้านสมุนไพรโดยตรง ทั้งวิจัย รวมถึงส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
"สิ่งที่มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรทำคือ พยายามกระตุ้นให้เกิดการใช้สมุนโพรอย่างแพร่หลาย ทั้งผลิตยาสมุนไพรในรูปของผลิตภัณฑ์เพื่อให้ใช้งานง่าย รวมถึงให้คำปรึกษาสำหรับคนที่ต้องการใช้ยาสมุนไพรรักษาแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร" เธอกล่าว
นอกจากนี้ยังได้ผนึกกำลังกับคนในชุมชนเพื่อค้นหาหมอยาพื้นบ้านเปิดพื้นที่รักษา และให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมอนุรักษ์พันธ์สมุนไพร เป็นการเก็บรวบรวมองค์ความรู้พัฒนาต่อยอดยาปฏิชีวนะในอนาคต ซึ่ง ณ ปัจจุบันคลินิกแพทย์แผนไทยได้รับการสนับสนุนให้ทัดเทียมกับคลินิกแพทย์แผนจีนในหลายโรงพยาบาล
ภูมิปัญญาผสานเทคโนโลยี
นอกจากการอนุรักษ์แล้วการที่ยาไทยจะคงอยู่ได้จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น การผลิตในแบบเดิม เช่น การปั้นยาลูกกลอนด้วยมือจำต้องเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
"ทันทีที่ตลาดสมุนไพรในอาเซียนเปิดกว้าง สิ่งที่ตามมาคือคุณภาพด้านการผลิตที่ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะปฏิเสธ จนทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจสมุนไพรเริ่มหวั่นวิตกกับมาตรฐานส่งออกที่จะถูกบังคับใช้ ซึ่งจะต้องมีทุน และใช้เทคโนโลยีช่วยในการผลิตวัตถุดิบให้ได้มาตรฐาน นั่นเป็นความท้าทายรูปแบบใหม่ที่อุตสาหกรรมสมุนไพรจำต้องเผชิญ" เธอกล่าว
ในส่วนของมูลนิธิไม่ได้นิ่งนอนใจโดยได้ลงทุนสร้างโรงงานต้นแบบผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร ที่ได้มาตรฐาน GMP เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ทั้งระบบจัดการวัตถุดิบ และขั้นตอนการผลิต ด้วยเงินลงทุนกว่า 50 ล้านบาท
"ระบบหมุนเวียนอากาศภายในอาคาร วิเคราะห์การฆ่าเชื้อ เครื่องจักรผลิตยาลูกกลอนอบแห้งด้วยระบบไมโครเวฟ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่กับภูมิปัญญาโบราณอย่างลงตัว" กรรมการบริหารมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรกล่าวย้ำและว่า มูลนิธิคาดหวังที่จะให้โรงงานต้นแบบนี้ เป็นโรงงานนำร่องและรับผลิตให้กับเอกชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยต่อไปในอนาคต ที่เดินหน้าไปพร้อมกับร้านยาต้นแบบ สืบทอดภูมิปัญญาไทยไปสู่รุ่นลูกหลาน
"เพราะหากคนไทยไม่ใช้ยาไทยแล้ว คนชาติไหนจะมาใช้ยาเรา"
นอกจากการอนุรักษ์แล้วการที่ยาไทยจะคงอยู่ได้จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น การผลิตในแบบเดิม เช่น การปั้นยาลูกกลอนด้วยมือจำต้องเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
"ทันทีที่ตลาดสมุนไพรในอาเซียนเปิดกว้าง สิ่งที่ตามมาคือคุณภาพด้านการผลิตที่ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะปฏิเสธ จนทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจสมุนไพรเริ่มหวั่นวิตกกับมาตรฐานส่งออกที่จะถูกบังคับใช้ ซึ่งจะต้องมีทุน และใช้เทคโนโลยีช่วยในการผลิตวัตถุดิบให้ได้มาตรฐาน นั่นเป็นความท้าทายรูปแบบใหม่ที่อุตสาหกรรมสมุนไพรจำต้องเผชิญ" เธอกล่าว
ในส่วนของมูลนิธิไม่ได้นิ่งนอนใจโดยได้ลงทุนสร้างโรงงานต้นแบบผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร ที่ได้มาตรฐาน GMP เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ทั้งระบบจัดการวัตถุดิบ และขั้นตอนการผลิต ด้วยเงินลงทุนกว่า 50 ล้านบาท
"ระบบหมุนเวียนอากาศภายในอาคาร วิเคราะห์การฆ่าเชื้อ เครื่องจักรผลิตยาลูกกลอนอบแห้งด้วยระบบไมโครเวฟ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่กับภูมิปัญญาโบราณอย่างลงตัว" กรรมการบริหารมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรกล่าวย้ำและว่า มูลนิธิคาดหวังที่จะให้โรงงานต้นแบบนี้ เป็นโรงงานนำร่องและรับผลิตให้กับเอกชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยต่อไปในอนาคต ที่เดินหน้าไปพร้อมกับร้านยาต้นแบบ สืบทอดภูมิปัญญาไทยไปสู่รุ่นลูกหลาน
"เพราะหากคนไทยไม่ใช้ยาไทยแล้ว คนชาติไหนจะมาใช้ยาเรา"