เลกซัส จีเอส ใหม่เป็นรถยนต์นั่งเจเนอเรชั่นที่ 4 ของรุ่นจีเอส
ที่ได้รับการพัฒนาให้มีความพิเศษในทุก ๆ ด้าน และเป็นแกรนด์ ทัวริ่ง ซีดาน
ภายใต้แนวคิดกะทัดรัดปราดเปรียวแต่มีพื้นที่ภายในกว้างขวาง สะดวกสบาย
ภาพลักษณ์การดีไซน์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเลกซัส
ที่จะมาสร้างประสบการณ์ใหม่แห่งการขับขี่ และสุดยอดสมรรถนะความประหยัด
รูปลักษณ์ภายนอกออกแบบภายใต้ปรัชญาแอล-ไฟเนส โฉบเฉี่ยว ปราดเปรียว ตามหลักอากาศพลศาสตร์ที่ให้แรงเสียดทานต่ำ ไฟหน้ามาพร้อมกับระบบแอลอีดี เดย์ไทม์รูปทรงหัวลูกศร กระจังหน้ารูป “หลอดถ้วย” สะท้อนเอกลักษณ์ใหม่ของแบรนด์เลกซัสโดดเด่นไม่เหมือนใคร แนวหลังคาที่ยาวขึ้น
ภายในห้องโดยสารกว้างขวางปรับปรุงที่นั่งให้การควบคุมรถที่ดีขึ้น พื้นที่เหนือศีรษะที่สูงขึ้น 15 มม. การออกแบบตามสรีระศาสตร์ทำให้สะดวกสบายตลอดการเดินทาง และที่นั่งด้านหน้าได้ปรับระดับให้สูงขึ้น 30 มม. ที่นั่งด้านหลังสูงขึ้น 20 มม. ทำให้การเข้า-ออกของผู้โดยสารด้านหลังง่ายและสะดวกสบายขึ้น รวมทั้งมีไฟเรืองแสง แอลอีดี แอมเบียนท์
ส่วนบริเวณแผงหน้าปัดประกอบด้วยจอแสดงผลแอลซีดี ขนาด 12.3 นิ้ว ที่แสดงผลทั้งระบบแผนที่ ระบบเครื่องเสียง ระบบนำทาง สายเรียกเข้าของโทรศัพท์ และโซนการควบคุมที่ทำงานผ่านรีโมต ทัช อินเตอร์ เฟรซ การควบคุมฟังก์ชันต่าง ๆ ด้วยเคอร์เซอร์บนหน้าจอ
ระบบปรับอากาศแบบเอสโฟลว์ ที่ควบคุมระดับลมแอร์ให้เหมาะสมกับจำนวนผู้โดยสาร ปิดช่องลมที่ปล่อยความเย็นออกสู่บริเวณที่ไม่มีผู้โดยสารนั่งอยู่ ช่วยลดการสิ้นเปลืองพลังงานของรถยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมด้วยระบบปรับสภาพอากาศแบบนาโน-อี ช่วยปรับความสมดุลของอากาศ เติมเต็มความบันเทิงด้วยเครื่องเสียงมาตรฐานลำโพง 12 ตัว ห้องเก็บสัมภาระด้านท้ายใหม่ เพิ่มพื้นที่ใช้สอยมากขึ้นจาก 430 ลิตร เป็น 530 ลิตร สามารถใส่ถุงกอล์ฟขนาดมาตรฐานได้มากถึง 4 ใบ
สำหรับระบบความปลอดภัยนั้น เลกซัส จีเอส 250 ได้ติดตั้งถุงลม 10 ตำแหน่ง และมีระบบที่ช่วยลดการบาดเจ็บบริเวณต้นคอ บริเวณที่นั่งตอนหน้า และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเข็มขัดนิรภัย กลไกการดึงกลับและผ่อนแรงดึงอัตโนมัติด้วย นอกจากนี้ยังได้ผสานการทำงานของระบบต่าง ๆ ช่วยเพิ่มสมรรถนะในการขับขี่ การทรงตัว และการป้องกันล้อหมุนฟรีอย่างมีประสิทธิภาพ
เลกซัส จีเอส 250 ใช้เครื่องยนต์ 4 GR-FSE ขนาด 2.5 ลิตร วี 6 DOHC 24 วาล์ว ดูอัล วีวีที-ไอ ผ่านมาตรฐานมลพิษระดับยูโร 5 ส่วนค่าตัวรุ่นเอฟ สปอร์ต อยู่ที่ 4.99 ล้านบาท.
ซีดานหรู สายพันธุ์ใหม่
จากต้นกำเนิดของเลกซัสในสหรัฐอเมริกาเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว เป็นการท้าทายที่ทางโตโยต้าต้องการจะบอกให้โลกรู้ว่า “คนญี่ปุ่นหากตั้งใจจริงก็ไม่แพ้ชาติใดในโลก” ซึ่งแม้จะไม่สามารถเขย่าบัลลังก์ของเบนซ์จนร่วงลงมาได้ แต่ทำให้ฝรั่งตาน้ำข้าวได้ทึ่งว่ารถญี่ปุ่นก็เจ๋งเหมือนกัน ส่วนในตระกูลจีเอสนี้ ถือว่าเป็นรถสายพันธุ์สปอร์ตซีดานที่มีกำเนิดมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 และได้สร้างชื่อเสียงที่ดีให้กับเลกซัสมาได้ 20 กว่าปีแล้ว โดยที่รถในเจเนอเรชั่นแรกนั้น เป็นผลงานรังสรรค์ของปรมาจารย์ จูเจียโร่ จากอิตัลดีไซน์ แห่งเมืองตูริน ประเทศอิตาลี และแผนแบบนั้นก็ถูกใช้ในการพัฒนาสายพันธุ์ของ
จีเอสมาถึง 3 เจเนอเรชั่น ด้วยรูปลักษณ์หน้ายาว ท้ายสั้นยกสูง เน้นความลู่ลม และภายในที่เน้นเออร์โกโนมิกส์ โดยแผงควบคุมหันเข้าหาคนขับ สำหรับรถทั้ง 3 เจเนอเรชั่นในปัจจุบันยังได้รับการยอมรับว่ามีรูปทรงที่โดดเด่นและยังคงได้ รับความนิยมในหมู่ผู้นิยมซีดานสปอร์ตพันธ์ุหรู (โดยเฉพาะเจเนอเรชั่นที่ 3 นั้น ผู้เขียนชื่นชอบเป็นพิเศษ)
แต่สำหรับรถเลกซัส จีเอส 250 เอฟ สปอร์ต ที่เราทำการทดสอบกันนี้ ได้สร้างสรรค์รูปทรงขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ไม่มีการอิงแนวคิดของจูเจียโร่อีกต่อไป โดยหันมาใช้แนวคิดที่เรียกว่า แอล ไฟเนส ซึ่งเป็นปรัชญาด้านพื้นผิวที่แสดงออกถึงสุนทรียภาพและความลื่นไหลของพื้นผิว ที่งดงาม อันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์เลกซัส ในด้านของการออกแบบนั้นต้องยอมรับเลยว่าเลกซัสทุ่มเทในการที่จะสร้างจุดขาย ให้กับรุ่นจีเอส ซึ่งเป็นรถซีดานหรูขนาดกลางที่เหมาะกับผู้ที่ชื่นชอบการขับขี่ด้วยตนเอง
สิ่งที่สำคัญที่สุดของการออกแบบรถยนต์ระดับหรูหราก็คือ บุคลิกภาพที่งามสง่าและมีเอกลักษณ์ที่สามารถจดจำได้ ในประเด็นด้านนี้ เลกซัสในฐานะที่เป็นแบรนด์รถยนต์ที่มีอายุอานาม 20 กว่าปี ซึ่งหากเทียบกับรถยนต์จากค่ายยุโรปที่มีอายุขัยเกินกว่า 60 ปี แทบจะทั้งนั้น (และถ้าเป็นเบนซ์แล้วล่ะก็ มีอายุกว่า 120 ปี) เลกซัสนับว่ายังอยู่ในขั้นวัยรุ่นที่พยายามค้นหาตัวเอง แต่เลกซัสก็สามารถสร้างโฉมหน้าที่เป็นเอกลักษณ์ได้ในที่สุด ฝรั่งเขาวิพากษ์วิจารณ์กันว่ากระจังหน้าของเลกซัสนี้ดูมีรูปร่างเหมือนกับ “หลอดด้าย” ซึ่งผู้เขียนเองก็คิดว่าเหมือนเช่นกัน แต่มันก็เป็นดีไซน์ที่ดูดีทีเดียว เพราะเป็นโฉมหน้าที่เคร่งขรึม จริงจัง และแฝงไปด้วยพลัง รูปลักษณ์ภายนอกมุมอื่น ๆ อาจจะดูคล้ายกับซีดานรุ่นน้อง อย่างรุ่นไอเอส แต่ก็เป็นรถยนต์ที่มีส่วนสัดลงตัว และหากมีการเน้นมัดกล้ามอีกสักนิดจะดูดีขึ้นมาก
ส่วนการออกแบบภายในนั้น นับว่าฉีกแนวจากรุ่นก่อน ๆ ไปชนิดไม่เหลือเยื่อใยใด ๆ จีเอสใหม่นี้เลือกที่จะใช้แผงคอนโซลที่แผ่ซ้ายจดขวาตามแบบสมัยนิยม หรูหราภูมิฐานมากกว่าแบบเดิม ซึ่งจุดที่โดดเด่นและเติมความขลังให้กับห้องโดยสารก็คือ นาฬิกาแบบอนาล็อก
ส่วน “ของเล่นไฮเทค” ก็นับว่าจัดมาให้อย่างสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีจากอากาศยานอย่างระบบเฮด-อัพ ดิสเพลย์ (HUD) ที่จะฉายตัวเลขแสดงความเร็ว และรอบเครื่องขึ้นบนกระจกหน้ารถ ทำให้เราไม่ต้องละสายตาจากถนนมามองมาตรวัดความเร็ว หรือจอแสดงข้อมูลการขับขี่ การนำทาง และระบบความบันเทิงที่สั่งงานผ่านเมาส์อัจฉริยะที่มีระบบตอบโต้กับผู้ใช้งาน ส่วนผู้ที่ชื่นชอบการขับขี่ เลกซัสได้จัดรูปแบบการตอบสนองของช่วงล่าง และการตอบสนอง รวมทั้งเสียงของเครื่องยนต์ (เสียงเครื่องไพเราะจนน่าแปลกใจ!) ให้คุณได้เลือกเพียงการบิดเบา ๆ ผ่านทางลูกบิดขนาดพอเหมาะด้านหลังคันเกียร์อัตโนมัติ
สรุป นี่คือซีดานหรู พันธุ์สปอร์ต ที่คุณต้องลองให้ได้ แล้วคุณจะเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับรถยนต์จากญี่ปุ่นไปเลยก็ว่าได้.
นุ่มสบายฟิลลิ่งรถยุโรป
ป้ายแดงชวนขับอาทิตย์แรกของเดือนเมษายนนี้ได้ ลูกตาล-ปาลีรัฐ ปานบุญห้อม นักแข่งรถจากพีทีที เพอร์ฟอร์มา ดริฟท์ ทีม มาทดสอบรถยนต์เลกซัส จีเอส 250 รุ่นเอฟ สปอร์ต ลูกตาลบอกว่าดูจากแคตตาล็อกระบุว่าหน้าตาเลกซัสดูดุดัน แต่เมื่อสัมผัสตัวจริงกลับรู้สึกว่ารถราคาแพงเกินตัวเลยไม่ตื่นเต้น แต่ถ้าเป็นเลกซัสรุ่นที่ลูกตาลชอบมากคือรุ่นไอเอส 250
เมื่อเปิดประตูเข้ามาชมภายในลูกตาลยังรู้สึกเฉย ๆ อาจเป็นเพราะคาดหวังว่าน่าจะมีความโดดเด่นอลังการกับราคาที่มากกว่า 4 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม แม้ไม่ทึ่งตั้งแต่แรกเห็น แต่รถคันนี้ก็มีฟังก์ชันการใช้งานเยอะ เช่น ที่พักแขนกว้าง ห้องโดยสารโอ่โถง เบาะนั่งสบายรับกับสรีระ จอบนหน้าปัดดูง่าย ทัศนวิสัยดี แต่ที่ทำให้งงคือตัวเลขอัตราความเร็วที่แสดงบนกระจกด้านหน้าคนขับ เพราะต้องคอยขยับตัวออกมาด้านหน้านิดนึงจึงจะมองเห็นได้ชัดเจน ส่วนนาฬิกาบนคอนโซลหน้าสวยดี ดูแปลกตา ไม่ค่อยพบในรถคันอื่นเพราะทำออกมาให้ดูคลาสสิก
ลูกตาลบอกว่า ช่วงออกตัวได้ลองใช้ทั้งโหมดอีโค โหมดปกติ และโหมดสปอร์ต ให้ความรู้สึกแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เช่นใช้โหมดสปอร์ต กับสปอร์ต เอส พลัส ถ้าขับในช่วงรอบระดับ 3,000 รอบ/นาทีขึ้นไป พบว่าโหมดสปอร์ต เอส พลัส ให้อารมณ์ปรู๊ดปร๊าดทันใจกว่า เปรียบเหมือนกับการใส่เกียร์รอไว้เลย แต่ว่าข้อเสียที่เห็นก็คือ รถกินน้ำมันมาก ต่างจากการใช้โหมดอีโค ที่ความเร็วรถจะค่อย ๆ ขึ้นและประหยัดน้ำมันมากกว่า
ช่วงล่างดีมาก นั่งสบายแม้ตกหลุม เจอคอสะพานไม่ค่อยมีอาการกระด้าง เมื่อเทียบกับเบนซ์ รุ่นซีแอลเอสที่ตอนเข้าโค้งเร็วรถเกาะถนนดีมากแต่เมื่อใช้ในชีวิตประจำวันจะ ขับไม่สนุกเพราะแข็งกระด้าง แต่เลกซัสคันนี้โอเคทั้งเรื่องเข้าโค้ง และการใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งทางเรียบที่วิ่งสบาย ๆ หรือถนนขรุขระ เนื่องจากช่วงล่างนุ่มนวล อย่างไรก็ตามข้อเสียของเลกซัสก็คือ ตัวล็อกไม่ทำงานเมื่อจอดรถ หรือกรณีจอดตามเนินหรือคอสะพานพบว่ารถจะไหล ลูกตาลอธิบายว่า เวลาปรับโหมดการใช้งานยุ่งยาก เนื่องจากการวางตำแหน่งฟังก์ชันใช้งาน (สำหรับดูข้อมูลในจอบนแผงหน้าปัด) ไม่เหมาะสม เพราะตัวควบคุมอยู่ใกล้ตัวมากเกินไป รวมทั้งตัวเลือกในระบบ (เคอร์เซอร์บนหน้าจอด) ทำงานเร็วเกินไป ทำให้ไม่เหมาะถ้าหากจะขับรถไปพร้อมกับการเลือกใช้ฟังก์ชัน หากเทียบกับระบบไอไดรฟ์ของบีเอ็มดับเบิลยูที่ใช้การหมุนล็อกคอนโทรลได้ ง่ายกว่า
“ฟังก์ชันการใช้งานค่อนข้างยาก คนขับไม่สามารถมานั่งเล่นฟังก์ชันอะไรได้เลย ยกเว้นใช้งานไปนาน ๆ อาจจะคุ้นเคย แต่ถามถึงความประทับใจเลกซัส จีเอส 250 ก็คือมี
ฟังก์ชันการใช้งานครบ เพียงแต่อยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม โดยรวมแล้วถือว่ารถมีดีไซน์ไม่ได้โดดเด่นออกจากความเป็นรถญี่ปุ่น แม้ว่าราคาแพง เชื่อว่าเลกซัสคงเน้นกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้บริหาร อย่างไรก็ดี ถ้ารถราคาระดับนี้ก็ยังมีตัวเลือกในตลาดอีกเยอะ ถ้าเป็นราคาที่ขายในเมืองนอกลูกตาลคงจะให้ 5 ดาวทั้งหมด แต่ในเมืองไทยคิดว่าแพงเกินไป”
อย่างไรก็ตาม จุดเด่นที่ลูกตาลให้คะแนนสูงคือด้านความสะดวกสบาย ขับสบาย นั่งสบาย เบาะหลังที่กว้างใหญ่ ทำให้คนนั่งรู้สึกสบายแน่นอน จุดติคือ การดีไซน์ยังไม่ทิ้งความเป็นรถญี่ปุ่น ระบบไฟฟ้าสำหรับปรับเบาะนั่งคู่หน้าอยู่ต่ำ ทำให้ต้องคลำหาการปรับที่นั่ง.
เรื่อง เนตรนภางค์ บุญนายืน ภัทรกิติ์ โกมลกิต ภาพ กมลชนก เจริญจินดารัตน์
คลิกเข้าชมรายละเอียดที่นี่
http://www.dailynews.co.th/article/1546/19958
รูปลักษณ์ภายนอกออกแบบภายใต้ปรัชญาแอล-ไฟเนส โฉบเฉี่ยว ปราดเปรียว ตามหลักอากาศพลศาสตร์ที่ให้แรงเสียดทานต่ำ ไฟหน้ามาพร้อมกับระบบแอลอีดี เดย์ไทม์รูปทรงหัวลูกศร กระจังหน้ารูป “หลอดถ้วย” สะท้อนเอกลักษณ์ใหม่ของแบรนด์เลกซัสโดดเด่นไม่เหมือนใคร แนวหลังคาที่ยาวขึ้น
ภายในห้องโดยสารกว้างขวางปรับปรุงที่นั่งให้การควบคุมรถที่ดีขึ้น พื้นที่เหนือศีรษะที่สูงขึ้น 15 มม. การออกแบบตามสรีระศาสตร์ทำให้สะดวกสบายตลอดการเดินทาง และที่นั่งด้านหน้าได้ปรับระดับให้สูงขึ้น 30 มม. ที่นั่งด้านหลังสูงขึ้น 20 มม. ทำให้การเข้า-ออกของผู้โดยสารด้านหลังง่ายและสะดวกสบายขึ้น รวมทั้งมีไฟเรืองแสง แอลอีดี แอมเบียนท์
ส่วนบริเวณแผงหน้าปัดประกอบด้วยจอแสดงผลแอลซีดี ขนาด 12.3 นิ้ว ที่แสดงผลทั้งระบบแผนที่ ระบบเครื่องเสียง ระบบนำทาง สายเรียกเข้าของโทรศัพท์ และโซนการควบคุมที่ทำงานผ่านรีโมต ทัช อินเตอร์ เฟรซ การควบคุมฟังก์ชันต่าง ๆ ด้วยเคอร์เซอร์บนหน้าจอ
ระบบปรับอากาศแบบเอสโฟลว์ ที่ควบคุมระดับลมแอร์ให้เหมาะสมกับจำนวนผู้โดยสาร ปิดช่องลมที่ปล่อยความเย็นออกสู่บริเวณที่ไม่มีผู้โดยสารนั่งอยู่ ช่วยลดการสิ้นเปลืองพลังงานของรถยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมด้วยระบบปรับสภาพอากาศแบบนาโน-อี ช่วยปรับความสมดุลของอากาศ เติมเต็มความบันเทิงด้วยเครื่องเสียงมาตรฐานลำโพง 12 ตัว ห้องเก็บสัมภาระด้านท้ายใหม่ เพิ่มพื้นที่ใช้สอยมากขึ้นจาก 430 ลิตร เป็น 530 ลิตร สามารถใส่ถุงกอล์ฟขนาดมาตรฐานได้มากถึง 4 ใบ
สำหรับระบบความปลอดภัยนั้น เลกซัส จีเอส 250 ได้ติดตั้งถุงลม 10 ตำแหน่ง และมีระบบที่ช่วยลดการบาดเจ็บบริเวณต้นคอ บริเวณที่นั่งตอนหน้า และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเข็มขัดนิรภัย กลไกการดึงกลับและผ่อนแรงดึงอัตโนมัติด้วย นอกจากนี้ยังได้ผสานการทำงานของระบบต่าง ๆ ช่วยเพิ่มสมรรถนะในการขับขี่ การทรงตัว และการป้องกันล้อหมุนฟรีอย่างมีประสิทธิภาพ
เลกซัส จีเอส 250 ใช้เครื่องยนต์ 4 GR-FSE ขนาด 2.5 ลิตร วี 6 DOHC 24 วาล์ว ดูอัล วีวีที-ไอ ผ่านมาตรฐานมลพิษระดับยูโร 5 ส่วนค่าตัวรุ่นเอฟ สปอร์ต อยู่ที่ 4.99 ล้านบาท.
ซีดานหรู สายพันธุ์ใหม่
จากต้นกำเนิดของเลกซัสในสหรัฐอเมริกาเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว เป็นการท้าทายที่ทางโตโยต้าต้องการจะบอกให้โลกรู้ว่า “คนญี่ปุ่นหากตั้งใจจริงก็ไม่แพ้ชาติใดในโลก” ซึ่งแม้จะไม่สามารถเขย่าบัลลังก์ของเบนซ์จนร่วงลงมาได้ แต่ทำให้ฝรั่งตาน้ำข้าวได้ทึ่งว่ารถญี่ปุ่นก็เจ๋งเหมือนกัน ส่วนในตระกูลจีเอสนี้ ถือว่าเป็นรถสายพันธุ์สปอร์ตซีดานที่มีกำเนิดมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 และได้สร้างชื่อเสียงที่ดีให้กับเลกซัสมาได้ 20 กว่าปีแล้ว โดยที่รถในเจเนอเรชั่นแรกนั้น เป็นผลงานรังสรรค์ของปรมาจารย์ จูเจียโร่ จากอิตัลดีไซน์ แห่งเมืองตูริน ประเทศอิตาลี และแผนแบบนั้นก็ถูกใช้ในการพัฒนาสายพันธุ์ของ
จีเอสมาถึง 3 เจเนอเรชั่น ด้วยรูปลักษณ์หน้ายาว ท้ายสั้นยกสูง เน้นความลู่ลม และภายในที่เน้นเออร์โกโนมิกส์ โดยแผงควบคุมหันเข้าหาคนขับ สำหรับรถทั้ง 3 เจเนอเรชั่นในปัจจุบันยังได้รับการยอมรับว่ามีรูปทรงที่โดดเด่นและยังคงได้ รับความนิยมในหมู่ผู้นิยมซีดานสปอร์ตพันธ์ุหรู (โดยเฉพาะเจเนอเรชั่นที่ 3 นั้น ผู้เขียนชื่นชอบเป็นพิเศษ)
แต่สำหรับรถเลกซัส จีเอส 250 เอฟ สปอร์ต ที่เราทำการทดสอบกันนี้ ได้สร้างสรรค์รูปทรงขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ไม่มีการอิงแนวคิดของจูเจียโร่อีกต่อไป โดยหันมาใช้แนวคิดที่เรียกว่า แอล ไฟเนส ซึ่งเป็นปรัชญาด้านพื้นผิวที่แสดงออกถึงสุนทรียภาพและความลื่นไหลของพื้นผิว ที่งดงาม อันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์เลกซัส ในด้านของการออกแบบนั้นต้องยอมรับเลยว่าเลกซัสทุ่มเทในการที่จะสร้างจุดขาย ให้กับรุ่นจีเอส ซึ่งเป็นรถซีดานหรูขนาดกลางที่เหมาะกับผู้ที่ชื่นชอบการขับขี่ด้วยตนเอง
สิ่งที่สำคัญที่สุดของการออกแบบรถยนต์ระดับหรูหราก็คือ บุคลิกภาพที่งามสง่าและมีเอกลักษณ์ที่สามารถจดจำได้ ในประเด็นด้านนี้ เลกซัสในฐานะที่เป็นแบรนด์รถยนต์ที่มีอายุอานาม 20 กว่าปี ซึ่งหากเทียบกับรถยนต์จากค่ายยุโรปที่มีอายุขัยเกินกว่า 60 ปี แทบจะทั้งนั้น (และถ้าเป็นเบนซ์แล้วล่ะก็ มีอายุกว่า 120 ปี) เลกซัสนับว่ายังอยู่ในขั้นวัยรุ่นที่พยายามค้นหาตัวเอง แต่เลกซัสก็สามารถสร้างโฉมหน้าที่เป็นเอกลักษณ์ได้ในที่สุด ฝรั่งเขาวิพากษ์วิจารณ์กันว่ากระจังหน้าของเลกซัสนี้ดูมีรูปร่างเหมือนกับ “หลอดด้าย” ซึ่งผู้เขียนเองก็คิดว่าเหมือนเช่นกัน แต่มันก็เป็นดีไซน์ที่ดูดีทีเดียว เพราะเป็นโฉมหน้าที่เคร่งขรึม จริงจัง และแฝงไปด้วยพลัง รูปลักษณ์ภายนอกมุมอื่น ๆ อาจจะดูคล้ายกับซีดานรุ่นน้อง อย่างรุ่นไอเอส แต่ก็เป็นรถยนต์ที่มีส่วนสัดลงตัว และหากมีการเน้นมัดกล้ามอีกสักนิดจะดูดีขึ้นมาก
ส่วนการออกแบบภายในนั้น นับว่าฉีกแนวจากรุ่นก่อน ๆ ไปชนิดไม่เหลือเยื่อใยใด ๆ จีเอสใหม่นี้เลือกที่จะใช้แผงคอนโซลที่แผ่ซ้ายจดขวาตามแบบสมัยนิยม หรูหราภูมิฐานมากกว่าแบบเดิม ซึ่งจุดที่โดดเด่นและเติมความขลังให้กับห้องโดยสารก็คือ นาฬิกาแบบอนาล็อก
ส่วน “ของเล่นไฮเทค” ก็นับว่าจัดมาให้อย่างสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีจากอากาศยานอย่างระบบเฮด-อัพ ดิสเพลย์ (HUD) ที่จะฉายตัวเลขแสดงความเร็ว และรอบเครื่องขึ้นบนกระจกหน้ารถ ทำให้เราไม่ต้องละสายตาจากถนนมามองมาตรวัดความเร็ว หรือจอแสดงข้อมูลการขับขี่ การนำทาง และระบบความบันเทิงที่สั่งงานผ่านเมาส์อัจฉริยะที่มีระบบตอบโต้กับผู้ใช้งาน ส่วนผู้ที่ชื่นชอบการขับขี่ เลกซัสได้จัดรูปแบบการตอบสนองของช่วงล่าง และการตอบสนอง รวมทั้งเสียงของเครื่องยนต์ (เสียงเครื่องไพเราะจนน่าแปลกใจ!) ให้คุณได้เลือกเพียงการบิดเบา ๆ ผ่านทางลูกบิดขนาดพอเหมาะด้านหลังคันเกียร์อัตโนมัติ
สรุป นี่คือซีดานหรู พันธุ์สปอร์ต ที่คุณต้องลองให้ได้ แล้วคุณจะเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับรถยนต์จากญี่ปุ่นไปเลยก็ว่าได้.
นุ่มสบายฟิลลิ่งรถยุโรป
ป้ายแดงชวนขับอาทิตย์แรกของเดือนเมษายนนี้ได้ ลูกตาล-ปาลีรัฐ ปานบุญห้อม นักแข่งรถจากพีทีที เพอร์ฟอร์มา ดริฟท์ ทีม มาทดสอบรถยนต์เลกซัส จีเอส 250 รุ่นเอฟ สปอร์ต ลูกตาลบอกว่าดูจากแคตตาล็อกระบุว่าหน้าตาเลกซัสดูดุดัน แต่เมื่อสัมผัสตัวจริงกลับรู้สึกว่ารถราคาแพงเกินตัวเลยไม่ตื่นเต้น แต่ถ้าเป็นเลกซัสรุ่นที่ลูกตาลชอบมากคือรุ่นไอเอส 250
เมื่อเปิดประตูเข้ามาชมภายในลูกตาลยังรู้สึกเฉย ๆ อาจเป็นเพราะคาดหวังว่าน่าจะมีความโดดเด่นอลังการกับราคาที่มากกว่า 4 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม แม้ไม่ทึ่งตั้งแต่แรกเห็น แต่รถคันนี้ก็มีฟังก์ชันการใช้งานเยอะ เช่น ที่พักแขนกว้าง ห้องโดยสารโอ่โถง เบาะนั่งสบายรับกับสรีระ จอบนหน้าปัดดูง่าย ทัศนวิสัยดี แต่ที่ทำให้งงคือตัวเลขอัตราความเร็วที่แสดงบนกระจกด้านหน้าคนขับ เพราะต้องคอยขยับตัวออกมาด้านหน้านิดนึงจึงจะมองเห็นได้ชัดเจน ส่วนนาฬิกาบนคอนโซลหน้าสวยดี ดูแปลกตา ไม่ค่อยพบในรถคันอื่นเพราะทำออกมาให้ดูคลาสสิก
ลูกตาลบอกว่า ช่วงออกตัวได้ลองใช้ทั้งโหมดอีโค โหมดปกติ และโหมดสปอร์ต ให้ความรู้สึกแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เช่นใช้โหมดสปอร์ต กับสปอร์ต เอส พลัส ถ้าขับในช่วงรอบระดับ 3,000 รอบ/นาทีขึ้นไป พบว่าโหมดสปอร์ต เอส พลัส ให้อารมณ์ปรู๊ดปร๊าดทันใจกว่า เปรียบเหมือนกับการใส่เกียร์รอไว้เลย แต่ว่าข้อเสียที่เห็นก็คือ รถกินน้ำมันมาก ต่างจากการใช้โหมดอีโค ที่ความเร็วรถจะค่อย ๆ ขึ้นและประหยัดน้ำมันมากกว่า
ช่วงล่างดีมาก นั่งสบายแม้ตกหลุม เจอคอสะพานไม่ค่อยมีอาการกระด้าง เมื่อเทียบกับเบนซ์ รุ่นซีแอลเอสที่ตอนเข้าโค้งเร็วรถเกาะถนนดีมากแต่เมื่อใช้ในชีวิตประจำวันจะ ขับไม่สนุกเพราะแข็งกระด้าง แต่เลกซัสคันนี้โอเคทั้งเรื่องเข้าโค้ง และการใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งทางเรียบที่วิ่งสบาย ๆ หรือถนนขรุขระ เนื่องจากช่วงล่างนุ่มนวล อย่างไรก็ตามข้อเสียของเลกซัสก็คือ ตัวล็อกไม่ทำงานเมื่อจอดรถ หรือกรณีจอดตามเนินหรือคอสะพานพบว่ารถจะไหล ลูกตาลอธิบายว่า เวลาปรับโหมดการใช้งานยุ่งยาก เนื่องจากการวางตำแหน่งฟังก์ชันใช้งาน (สำหรับดูข้อมูลในจอบนแผงหน้าปัด) ไม่เหมาะสม เพราะตัวควบคุมอยู่ใกล้ตัวมากเกินไป รวมทั้งตัวเลือกในระบบ (เคอร์เซอร์บนหน้าจอด) ทำงานเร็วเกินไป ทำให้ไม่เหมาะถ้าหากจะขับรถไปพร้อมกับการเลือกใช้ฟังก์ชัน หากเทียบกับระบบไอไดรฟ์ของบีเอ็มดับเบิลยูที่ใช้การหมุนล็อกคอนโทรลได้ ง่ายกว่า
“ฟังก์ชันการใช้งานค่อนข้างยาก คนขับไม่สามารถมานั่งเล่นฟังก์ชันอะไรได้เลย ยกเว้นใช้งานไปนาน ๆ อาจจะคุ้นเคย แต่ถามถึงความประทับใจเลกซัส จีเอส 250 ก็คือมี
ฟังก์ชันการใช้งานครบ เพียงแต่อยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม โดยรวมแล้วถือว่ารถมีดีไซน์ไม่ได้โดดเด่นออกจากความเป็นรถญี่ปุ่น แม้ว่าราคาแพง เชื่อว่าเลกซัสคงเน้นกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้บริหาร อย่างไรก็ดี ถ้ารถราคาระดับนี้ก็ยังมีตัวเลือกในตลาดอีกเยอะ ถ้าเป็นราคาที่ขายในเมืองนอกลูกตาลคงจะให้ 5 ดาวทั้งหมด แต่ในเมืองไทยคิดว่าแพงเกินไป”
อย่างไรก็ตาม จุดเด่นที่ลูกตาลให้คะแนนสูงคือด้านความสะดวกสบาย ขับสบาย นั่งสบาย เบาะหลังที่กว้างใหญ่ ทำให้คนนั่งรู้สึกสบายแน่นอน จุดติคือ การดีไซน์ยังไม่ทิ้งความเป็นรถญี่ปุ่น ระบบไฟฟ้าสำหรับปรับเบาะนั่งคู่หน้าอยู่ต่ำ ทำให้ต้องคลำหาการปรับที่นั่ง.
เรื่อง เนตรนภางค์ บุญนายืน ภัทรกิติ์ โกมลกิต ภาพ กมลชนก เจริญจินดารัตน์
คลิกเข้าชมรายละเอียดที่นี่
http://www.dailynews.co.th/article/1546/19958