วิทนีย์ ฮิวส์ตัน
- หมู่นี้มีเรื่องไม่คาดคิด เกิดขึ้นหนาตาและหนาหูมาก หากแต่เรื่องหนึ่งที่สนใจก็คือความตายก่อนวัยอันควรของบุคคลอาชีพนักแสดง ซึ่งนอกจากสร้างความบันเทิงให้ท่านผู้ชมแล้ว ยังเป็นเสมือนต้นแบบที่มีผู้คนมากมายลอกเลียนหรือยึดถือเป็นแบบอย่าง ดังนั้น การจากไปของบุคคลเหล่านี้ จึงถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ไทยรัฐซันเดย์สเปเชียลโดยทีมงานต่วย’ตูนต้องไม่ ละเลยที่จะนำมาเสนอต่อแฟนานุแฟนที่รัก
- จากการเฝ้าสังเกตการใช้ยาของ คนไข้ในปัจจุบันรู้สึกว่ามียาประจำตัวเยอะขึ้นกว่ายุคก่อนมาก เป็นหลายอาการก็จัดยาให้เป็นรายอาการไป ไม่ได้ดูแบบรวมอาการ หรือลองให้คนไข้คุมอาหารเองก่อน
- อาจเป็นเพราะคนไข้ใจร้อนด้วย
- ทำ ให้คนไทยประสบปัญหาอันตรายแบบฝรั่งมากขึ้นคือ “พหุโอสถ (Polypharmacy)” ใช้ยาเป็นกำมือเหมือนกับดื่มเหล้าค็อกเทล กินยา มากอย่างไม่รู้สึกสะดุ้งสะเทือนด้วยรู้สึกว่าคุณหมอเป็นคนสั่งให้ย่อม ปลอดภัย
- เรื่องของดาราสาวกรณี วิทนีย์ ฮิวส์ตัน เป็นอุทาหรณ์ที่ดีครับ เพราะยาที่เป็นเหตุให้เธอเสียชีวิตก็เป็นยาที่คุณหมอสั่งให้เช่นเดียวกัน มีใบสั่งยาเป็นหลักฐานอยู่ด้วย แต่ความผิดพลาดเกิดขึ้นเมื่อเธอนำมันมารับประทานพร้อมกับเครื่อง ดื่มแอลกอฮอล์
- จึงทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงขึ้น
ซึ่งความผิดปกติ ที่เกิดจากการรับประทานยาผิดคู่นั้นมีระบุไว้ในตำราแพทย์เรียกว่า “ปฏิกิริยาอันตรายจากอาหารรวมยา (Drug–Food interaction)” มีอยู่เยอะมากนับร้อยพันครับ ซึ่งได้ไปค้นมาให้ท่านผู้อ่านแล้วสรุปออกมาเป็น 3 กรณีหลักดูง่ายๆดังนี้ครับ
– ยา + เหล้า
– ยา + อาหาร
– ยา + ยา
เพราะ จากการอ่านงานวิจัยหลายชิ้นเห็นว่าแอลกอฮอล์ถูกห้ามไม่ให้ใช้กับยามากชนิด คิดง่ายๆว่าเหล้าไม่ควรกินกับยาเลย ส่วนอาหารนั้นมักเป็นนมหรือน้ำผลไม้ที่ไม่ควรกินร่วมด้วยเพราะจะไปรบกวน ฤทธิ์ของยามาก และตัวยาด้วยกันเองก็ส่งผลถึงกันได้อย่างที่เรียกว่า “ยาตีกัน” ถ้าเรากินหลายชนิดจนเกินไป
เท่าที่ทราบจากเนื้อข่าวคือคุณ วิทนีย์ ฮิวสตัน น่าจะเสียชีวิตในอ่างน้ำเพราะการรับประทานยานอนหลับ “ซาแน็กส์ (Xanax)” กับเครื่องดื่มผิดประเภท โดยแหล่งข่าวหลายที่ชี้ไปว่าน่าจะเป็นยานอนหลับร่วมกับดื่มแอลกอฮอล์แล้วก็ อาจพาหลับลึกจนจมน้ำในอ่างอาบไม่รู้ตัว แม้จะเป็นยาที่ว่า “แพทย์สั่ง (Prescription drug)” อย่างกรณีคุณวิทนีย์ที่สื่อนอกเน้นประเด็นนี้กันมาก แต่หากเอายามากินผิดๆร่วมกับอาหารต้องห้ามก็อันตรายมาก
เพราะยานอน หลับนั้นคุณหมอท่านทราบกันนานแล้วว่ากินแล้วต้องไม่ดื่มแอลกอฮอล์เพราะจะไป กอดคอกันกดประสาทขนาดหนักให้ได้พักยาวสลบไสลถึงขั้นหยุดหายใจไปได้
สำหรับคนดังที่ถูกยา “สั่ง” ให้ลาโลกเร็วก่อนเวลาอันควรมีอีกหลายท่านดังนี้ครับ
- มาริลีน มอนโร
- จู ดี้ การ์แลนด์ ดาราเด็กผู้โด่งดังจากบท “โดโรธี” หนูน้อยในเรื่องพ่อมดแห่งออซ ด้วยการทำงานในกองถ่ายฮอลลีวู้ดยุคแรกที่ต้องแบกภาระเกินตัวทั้งร้อง, เต้น, เล่นตามบทอดหลับอดนอนเพราะเธอเป็นตัวทำเงินทะลุเป้า จึงต้องเอายากระตุ้นบางอย่างมาช่วยให้จูดี้มีพลังร้องและเต้นได้อยู่เสมอแม้ ต้องถ่ายกันดึกดื่น ซึ่งในตอนนั้นไม่มีใครคิดถึงเรื่องอันตรายมากนัก
- บรู ซ ลี เจ้าพ่อหนุ่มซินตึ๊งเสียชีวิตด้วยวัยเพียง 32 ปี โดยเขามีอาการลมบ้าหมูชักอย่างรุนแรงและเสียชีวิตในขณะที่ถึงโรงพยาบาลพอดี ผลการชันสูตรชี้ว่าสมองของบรูซบวมขึ้นกว่าปกติถึง 13% และพบสารเคมีจากยากลุ่มแก้ปวดคลายกล้ามเนื้อในร่างกายของเขา มีข่าวลือถึงเรื่องการใช้กัญชาร่วมด้วย
- เจมส์ ดีน ดาราฮอลลีวู้ดต้นฉบับแบ้ดบอยยุคคุณพ่อ มีความหล่อเป็นคุณสมบัติเด่นพอๆกับชื่อเสียงด้านอารมณ์ที่ขึ้นลง (Mood swing) ไม่แน่นอน แม้ไม่มีข่าวการใช้ยาแต่ว่านิสัยส่วนตัวทั้งดื่มจัดและสูบเก่งร่วมกับอารมณ์ แปรปรวนก็อาจส่งผลให้เขาต้องจบชีวิตลงในอุบัติเหตุก่อนวัยอันควร
ริ เวอร์ ฟินิกซ์ นักแสดงหนุ่มอนาคตไกล ผู้เคยได้รับการเสนอชื่อชิงออสการ์และลูกโลกทองคำ แต่ในชีวิตจริงเขาต้องต่อสู้กับอาการซึมเศร้าเรื้อรังที่เป็นมานาน อยู่มาวันหนึ่งขณะเดินออกมาจากไนต์-คลับนักแสดงหนุ่มก็พลันวูบหมดสติก่อนจะ ชักเกร็งติดต่อกันเป็นเวลา 8 นาที แล้วหยุดหายใจ มิไยที่เพื่อนจะช่วยผายปอดเป่าปากแต่ก็ไม่อาจคืนชีวิตให้กับริเวอร์ได้ มีรายงานว่าความตายของเขาเกิดจากการเสพโคเคน, เฮโรอีน และยาต้านซึมเศร้าร่วมกัน
- เคิร์ท โคเบน นักร้องนำแห่งวงเนอวาน่า ผู้มีชื่อเสียงในยุค 90
มี ประวัติติดเฮโรอีน โดยอ้างว่าต้องใช้ช่วยในการทำงานทัวร์คอนเสิร์ต ชีวิตของเคิร์ทผ่านการพยายามฆ่าตัวตายโดยใช้ยากล่อมประสาท (โรฮิปนอล) กินคู่กับแชมเปญแต่มีการช่วยไว้ได้ทัน จนวันสุดท้ายคือเขาตัดสินใจใช้ปืนปลิดชีพตัวเอง โดยผลชันสูตรศพพบเฮโรอีนและแวเลียมปริมาณสูงในเลือด
- ไม เคิล แจ็คสัน ราชาเพลงป๊อปสะท้านโลกที่ตกเป็นข่าวทั้งยามเป็นและยามตาย ด้วยความตายของเขาเกี่ยวพันกับยาดังที่เป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลก ยาที่น่าสงสัยของแจ็คสันคือยานอนหลับอย่างแรงและยาสลบแบบฉีดครับ
- ฮีท เล็ทเจอร์ ผู้โด่งดังจากบทชายรักชายในภาพยนตร์ “หุบเขาเร้นรัก (Brokeback mountain)” นอนเสียชีวิตอยู่บนเตียงพร้อมด้วยขวดยาหลายชนิดและขนาด เชื่อว่ายาที่มีมากอย่างนั้นเองเป็นตัวการที่ทำให้ดาราหนุ่มจากไปก่อนวัยอัน ควร
- แอ นนา นิโคล สมิท นางแบบเพลย์บอยหุ่นเซ็กซี่กับชีวิตที่อาภัพทำให้เธอต้องอาศัยยาระงับประสาท เป็นอาจิณ ด้วยเธอมีคดีฟ้องร้องเรื่องทรัพย์สิน อีกทั้งลูกชายที่รักดั่งดวงใจเสียชีวิตไปก่อนหน้าเพียง 5 เดือน ทำให้เธอใช้ยาที่แพทย์จ่ายให้อย่างเต็มเหนี่ยว ความตายของเธอมาจากยานอนหลับ (แวเลี่ยม) ร่วมกับยากล่อมประสาทอีกมากชนิดครับ
บริตตานี เมอร์ฟี่ นักแสดงสาวสวยอีกคนกับบทบาทสาวเจ้าเสน่ห์หวานซ่อนเปรี้ยวที่มีโรคประจำตัว ซ่อนอยู่ ชีวิตที่ดูสมบูรณ์แบบนั้นมียาประจำอยู่เบื้องหลังมากชนิดทั้งยาแก้ปวด, แก้ซึมเศร้า และแก้อาการกินผิดปกติ ยาเหล่านี้เธอต้องกินร่วมกันเป็นเวลานานจนถึงวันที่เสียชีวิตนั้นทำให้ทั้ง ปอดและหัวใจป่วยไปพร้อมๆกัน
เฟอร์ดินาน มาร์กอส ขอแถมไว้อีกรายครับ แม้ไม่ใช่เซเล็บแต่เป็นอดีตประธานาธิบดีเมืองตากาล็อกที่ดังกระฉ่อนโลกจาก เรื่องความร่ำรวยและรูปแบบการใช้ชีวิต ยามที่ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศนั้น มีผู้ไปค้นทำเนียบมาลากัน-ยังก็พบทั้งอุปกรณ์ช่วยชีวิต, ถังออกซิเจน และ “ยาประจำตัว” ท่านประธานาธิบดีหลายต่อหลาย ขนานมากมายจนแทบตั้งโรง-พยาบาลได้
จะเห็นว่าฤทธิ์ของยากับเหล้า, ยากับอาหาร และยากับยา เป็นมรณะที่อยู่ใกล้แค่ลมหายใจรดต้นคอเท่านั้นเอง ความน่ากลัวเกรงของมันยังอาจเกิดได้จากการนำเอาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป ผสมกับเครื่องดื่มชูกำลัง
อันตรายถึงตายเชียวครับ
ซ้ำร้าย เป็นการตายอย่างทรมานเพราะเป็นการไปกดประสาทส่วนหายใจจน “หยุดหายใจ” ขาดอากาศไป ถึงสมมติว่าแก้ขึ้นมาได้ก็ไม่ปกติแล้วครับ กลายเป็นเจ้าชายเจ้าหญิงนิทราสมองไม่สมประกอบ
เพื่อให้ตอบโจทย์ง่ายๆ ของการที่คนเราต้องใช้ชีวิตอยู่กับยาที่แพทย์สั่งอย่างเลี่ยงไม่ได้และใน ชีวิตก็ต้องรับประทานอาหารหลาย หลาก ก็ขอฝากไว้ว่าเหล้านั้นขอให้เลี่ยงเลยครับไม่ควรกินกับยาเด็ดขาด
ห้ามที่สุดในสามโลก
ส่วน ห้ามกินก่อนหลังกันกี่นาที หรือเหล้าต่างชนิดจะให้ผลต่างกันหรือไม่ก็ขอให้สูตรระวังตัวไว้ง่ายๆคือ “ยังไม่สร่างเมาห้ามเอายาใดๆเข้าปาก” เลยครับจะปลอดภัยที่สุด
ก่อน ชีวิตจะหยุดทั้งที่ยังไม่ถึงวัยอันสมควร ด้วยท่านผู้อ่านทุกท่านก็เหมือนดาราที่ส่องประกายอยู่ในใจนักเขียนอย่างผม เลยอยากให้ท่านที่รักได้เป็นดาวให้ชื่นชมไว้นานๆ
ไม่อยากให้ตำนานดาวต้องสิ้นแสงไปอีกแม้แต่ดวงเดียว.
- โดย นพ.กฤษดา ศิรามพุช และทีมงานนิตยสาร ต่วย'ตูน