เรื่องราวความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลสิงหลกับกบฏแบ่งแยกดินแดนพยัคฆ์ทมิฬ
ความรุนแรงจากการต่อสู้ที่เกิดขึ้นยังคงเป็นภาพติดตาผู้คนทั่วโลกรวมทั้งคน
ไทย
ทว่าวันนี้เมืองพุทธที่เป็นดั่งเมืองพี่เมืองน้องกับไทยอย่างศรีลังกานั้น
ไม่เพียงมีแต่ความสงบเงียบ
หากแต่ยังเป็นดินแดนที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสวนกระแสโลกแห่งวัตถุและ
วิทยาการ
การเดินเวียนรอบต้นไทรพร้อมกับท่องบทสวดมนต์
หรือนั่งกระจายอยู่เกือบเต็มลานวัดเพื่อสวดภาวนากลายเป็นภาพคุ้นตาที่พบเห็น
ได้ทั่วไปในพุทธสถาน ขณะที่เกือบทุกแยกมุมหรือแม้แต่ปากตรอกเล็ก ๆ
เข้าสู่ชุมชนมีพระพุทธรูปทั้งเล็กและใหญ่ประดิษฐานอยู่เพื่อให้ผู้คนที่ผ่าน
ไปมาได้สักการะ
แต่สิ่งที่ดึงดูดให้ไทยพุทธมุ่งมั่นเดินทางไปยังศรีลังกาวันนี้
เป็นเพราะการได้ไปสักการะพระทันตธาตุหรือที่มักเรียกกันว่าพระเขี้ยวแก้ว
พระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เป็นเขี้ยวของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ประดิษฐานอยู่
ณ วัดมัลลิกา ดาลดา แห่งเมืองแคนดี
ซึ่งว่ากันว่าเป็นเพียงองค์เดียวที่ปรากฏบนโลกมนุษย์โดยมีหลักฐานรองรับความ
ถูกต้องตรงตามพระคัมภีร์มหาวังศาว่าด้วยพระทันตธาตุ
ความศักดิ์สิทธิ์ของพระเขี้ยวแก้วที่เล่าขานกันมาตั้งแต่เมื่อครั้งอังกฤษยก
ทัพเข้ามายึดกรุงศรีวัฒนาปุระแคนดีแห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ.2352
โดยยึดเอาพระเขี้ยวแก้วมาเป็นข้อต่อรองให้ชาวศรีลังกาวางอาวุธ
ขณะที่อังกฤษยึดพระเขี้ยวแก้วไว้นั้นศรีลังกาเกิดความแห้งแล้งอย่างหนัก
ติดต่อกันหลายปี ชาวลังกาจึงเจรจากับผู้ปกครองอังกฤษ
ขออนุญาตให้มีการนำพระเขี้ยวแก้วมาเปิดบูชาตามประเพณีโบราณ
ฝ่ายอังกฤษก็ยินยอม ในระหว่างทำพิธีนั้นเอง
ท้องฟ้าที่เคยปราศจากเมฆฝนมาหลายปีก็บังเกิดฝนเทลงมา
สร้างความชุ่มฉ่ำและอัศจรรย์ใจให้ผู้คนที่พบเห็น
ปาฏิหาริย์จากพระเขี้ยวแก้วที่ชาวลังกาเคารพศรัทธานี้เอง
ทำให้ชาวพุทธลังกายินดีที่จะยืนเรียงต่อแถวเพียงเพื่อจะมีโอกาสได้เข้า
สักการะพระเขี้ยวแก้วที่ถูกบรรจุอยู่ในเจดีย์ทองคำแค่ไม่กี่วินาที
ขณะที่เด็กแรกเกิดนั้นพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายก็จะพามานั่งสวดมนต์ภาวนาเพื่อ
ขอรับพรจากพระเขี้ยวแก้ว
เพราะเชื่อกันว่าความศักดิ์สิทธิ์จะช่วยคุ้มครองลูกหลานให้พ้นจากเภทภัยทั้ง
ปวง
ว่ากันว่าหากเป็นช่วงที่มีการเปิดนำพระเขี้ยวแก้วออกมาอาจต้องเข้าแถวอย่าง
ต่ำครึ่งวันจึงจะมีโอกาสได้เข้ามาสักการะ
เพราะการอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วออกมาทำพิธีสมโภชนั้นจะมีขึ้น 4-5 ปีครั้ง
และต้องให้พระมหาสังฆนายก ซึ่งเทียบได้กับพระสังฆราช สยามนิกาย 2
องค์ที่ปกครองฝ่ายคามวาสี และอรัญวาสี และตัวแทนของฝ่ายฆราวาส
อันมาจากการเลือกตั้งจากผู้มีเกียรติ
อันเป็นที่ยอมรับของทั้งทางฝ่ายศาสนาและประชาชน มีตำแหน่งเรียกว่า “นิละเม”
นำกุญแจที่เก็บรักษาอยู่มาเปิดโดยพร้อมเพรียงกันเท่านั้น
ขณะที่วัดคงคาราม วัดของนิกายสยามวงศ์ที่อยู่ในตัวเมืองโคลัมโบนั้น
เคยเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์แห่งแรกของประเทศศรี
ลังกามาก่อน
จุดเด่นของวัดแห่งนี้อยู่ที่วิหารกลางน้ำซึ่งไม่เพียงเป็นที่ประดิษฐานพระ
พุทธรูปจากพม่าเมื่อครั้งที่ชาวพม่ามาบูรณะวิหารแห่งนี้
ส่วนพระพุทธรูปแบบศิลปะไทยที่รายล้อมอยู่โดยรอบนั้นเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์
ที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยนำมาถวาย
วิหารกลางน้ำแห่งนี้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางพุทธศาสนา
ขณะที่ตัววัดนั้นตั้งอยู่ห่างออกไปไม่ไกล
พระอุโบสถที่ค่อนไปทางทรงยุโรปนั้นภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปั้นศิลปะแบบศรี
ลังกา
ความงดงามของพระพุทธรูปองค์นี้ทำให้ถูกนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ
พุทธศาสนาของศรีลังกาเสมอ แม้ว่าจะไม่ใช่พระพุทธรูปโบราณก็ตาม
ส่วนศิลปะปูนปั้นแบบลอยตัวที่รายล้อมองค์พระพุทธรูปอยู่นั้นเป็นเรื่องราว
ที่ถอดออกมาจากพุทธประวัติ ซึ่งมีเรื่องราวของพระราหุล
พระราชโอรสในเจ้าชายสิทธัตถะ (พระโคตมพุทธเจ้า) กับพระนางยโสธราหรือพิมพา
ซึ่งประสูติในวันที่พระบิดาออกผนวชรวมอยู่ด้วย
และพระราหุลนี่เองที่ทำให้พิธีการบวชของชายในพุทธศาสนาต้องมีการเอ่ยขอจาก
พ่อแม่ก่อน
เล่ากันว่าเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าและเสด็จไปทรงเผย
แผ่พุทธศาสนา ณ แคว้นมคธ
ได้เสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์เพื่อโปรดพระบิดาและพระประยูรญาติ
และมีเหล่าสาวกติดตามเสด็จมาด้วย พระนางยโสธราได้รับสั่งให้พระกุมารราหุล
ไปทูลขอพระราชสมบัติจากพระพุทธองค์
พระพุทธเจ้าจึงทรงบรรพชาราหุลเป็นสามเณรและให้เสด็จติดตามพระองค์ไปด้วย
พระกุมารราหุลจึงเป็นสามเณรองค์แรกในพุทธศาสนา
ส่วนวัดกัลยาณี วัดประจำเมืองที่ชาวโคลัมโบให้ความเคารพอย่างสูงสุด
ชาวพุทธศรีลังกา เชื่อกันว่า
พระพุทธองค์เสด็จมาแสดงพระธรรมเทศนาโดยประทับบนอาสน์โปรดชาว
สีหล ณ พระอารามแห่งนี้ ซึ่งเป็นการเสด็จลังกาครั้งที่ 3
ปัจจุบันบัลลังก์ที่ประทับของพระพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่ในเจดีย์สีขาวองค์
ใหญ่รูปบาตรคว่ำแบบเจดีย์สาญจีที่ถือว่าเป็นเจดีย์ยุคต้นในอินเดีย
ซึ่งอยู่ถัดไปด้านหลังโบสถ์นั่นเอง
นอกจากต้นศรีมหาโพธิ์ขนาดใหญ่แล้ว
อาคารรูปทรงแบบยุโรปที่เป็นพระอุโบสถซึ่งสร้างขึ้นจากหินทรายนั้น
แม้ว่าจะมีอายุเพียงแค่ 300 กว่าปี
แต่ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับประวัติพุทธศาสนาในลังกาที่มีความ
สำคัญรวมอยู่ด้วย หนึ่งในนั้นคือ
ภาพพระทันตกุมารและพระนางเหมาลานำพระเขี้ยวแก้วเดินทางหนีภัยจากอินเดีย
มาศรีลังกา
การเดินทางไปสักการะพระเขี้ยวแก้วที่ศรีลังกาวันนี้ไม่ใช่เรื่องยากและต้อง
จ่ายแพงอีกต่อไป
เพราะแอร์เอเชียมีเที่ยวบินตรงกรุงเทพฯ-โคลัมโบ-กรุงเทพฯทุกวัน
ดูรายละเอียดได้ที่ www.airasia.com
ติดตามโปรโมชั่นและกิจกรรมของแอร์เอเชียได้ตลอดเวลาที่
twitter.com/AirAsiaThailand และ facebook.com/AirAsiaThailand.
http://www.dailynews.co.th/article/725/17656