โฉมหน้า นาโน ฮัมมิ่งเบิร์ด |
"ดาร์ปา" ฝ่ายวิจัยของ "เพนตา กอน" หรือกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นให้การสนับสนุน ทางการเงินแก่โครงการ "นาโน ฮัมมิ่งเบิร์ด" มาตั้งแต่ปี 2549
เป้าหมายของ "นาโน ฮัมมิ่งเบิร์ด" ก็เพื่อสร้างต้นแบบอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) ลำเล็กจิ๋วเอาไว้ทำหน้าที่บินเข้าไปสอดแนม-จารกรรมข้อมูลฝ่ายตรงข้ามอย่างแนบเนียน ถึงขนาดบินไปเกาะอยู่ตรงขอบหน้าต่าง แต่ศัตรูไม่มีวันรู้ตัว
อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) ลำเล็กจิ๋วเอาไว้ทำหน้าที่บินเข้าไปสอดแนม-จารกรรมข้อมูลฝ่ายตรงข้ามอย่างแนบเนียน ถึงขนาดบินไปเกาะอยู่ตรงขอบหน้าต่าง แต่ศัตรูไม่มีวันรู้ตัว
บริษัท "แอโรวิรอนเมนต์" ผ่านการคัดเลือกจากเพนตา กอนให้รับภารกิจพัฒนาโดรนไฮเทคดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2549
จนถึงปัจจุบันการพัฒนา "นาโน ฮัมมิ่งเบิร์ด" ใช้งบประมาณไปแล้วประมาณ 4 ล้านดอลลาร์ (ราว 140-150 ล้านบาท)
ผลลัพธ์ที่ได้ คือ โดรนลำจิ๋วที่มีหน้าตาลอกเลียนถอดแบบมาจาก "นกฮัมมิ่งเบิร์ด" ซึ่งเหมาะกับการบินสอดแนมทั้งในเขตเมืองและสนามรบ!
หนังสือพิมพ์ลอสแองเจลิสไทมสŒ สื่อสิ่งพิมพ์ชั้นนำในสหรัฐ รายงานว่า "นาโน ฮัมมิ่งเบิร์ด" เคลื่อนที่ไปได้ด้วยการกระพือปีกเหมือนนกจริงๆ
แหล่งพลังงานมาจาก "แบตเตอรี่" ก้อนจิ๋ว ซึ่งติดตั้งอยู่ภายใน
นอกจากนั้น ยังติดตั้ง "กล้องบันทึกภาพ" ซุกซ่อนเอาไว้อย่างแยบยล
ภายหลังจากใช้เวลาปรับปรุงประสิทธิภาพอยู่นานถึง 4 ปี ในที่สุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ดาร์ปาและทีมงาน บริษัทแอโรวิรอนเมนต์ ก็เปิดแถลงข่าวความสำเร็จครั้งสำคัญของโครงการนี้ พร้อมกับโชว์คลิปวิดีโอการทดลอง "นาโน ฮัมมิ่งเบิร์ด" ต่อหน้าสื่อมวลชนสหรัฐว่า
ว่า
1.โฉมหน้า นาโน ฮัมมิ่งเบิร์ด 2.นกฮัมมิ่งเบิร์ดจริงๆ ตามธรรมชาติ 3.เครื่องบินสอดแนมพลังแสงอาทิตย์ รุ่น "Vulture" ออกแบบโดยสำนักงานอวกาศสหรัฐ (นาซ่า) อีกหนึ่งตัวเลือกของกองทัพพญาอินทรี 4."ยูทู" เครื่องบินยูทูรุ่นเก่า ลำใหญ่ยักษ์ของกองทัพอากาศสหรัฐ 5.ทดลองบิน 360 องศา 6.โดรน "พรีเดเตอร์" ของสหรัฐ ทั้งสอดแนมและยิงอาวุธถล่มเป้าหมาย |
จากการทดสอบล่าสุด "นาโน ฮัมมิ่งเบิร์ด" สามารถบินทำความเร็วได้สูงสุด 17 กิโลเมตร/ชั่วโมง
และบินต่อเนื่องได้นานเพิ่มขึ้นเป็น 8 นาที จากเดิม 2 ปีก่อนที่บินได้เพียง 20 วินาทีก็จบเห่
ที่สำคัญ เจ้านกสายลับยังบินได้รอบตัว 360 องศา โดยควบคุมทิศทางผ่าน "รีโมตคอนโทรล" จะสั่งให้บินเฉียงไปทางซ้าย ทางขวา บินตรง บินขึ้น บินลง แม้แต่บินม้วนตัวเป็นวงกลมก็ยังได้
ทีมผู้พัฒนาระบุว่า นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในเทคโนโลยีเครื่องบินสอดแนมระดับโลก
"นาโน ฮัมมิ่งเบิร์ด" มีขนาดประมาณ 19 กรัม หรือเบากว่าถ่าน "AA" 1 ก้อนเสียอีก
ความยาวระยะปีกจากปลายสุดปีกข้างหนึ่งมาอีกข้าง อยู่ที่ 16 เซนติเมตร
ภายในตัวติดตั้ง "มอเตอร์" ขับเคลื่อนหลายจุด รวมถึงระบบสื่อสาร และกล้องวิดีโอ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับนกฮัมมิ่งเบิร์ดตามธรรมชาติจริงๆ แล้ว "นาโน ฮัมมิ่งเบิร์ด" ยังมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย
ปีเตอร์ ดับเบิลยู. ซิงเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และผู้แต่งหนังสือ "Wired for War" ซึ่งฉายภาพสงครามหุ่นยนต์ในอนาคต ระบุว่า
ขั้นต่อไปของโครงการ "นาโน ฮัมมิ่งเบิร์ด" น่าจะอยู่ที่การปรับปรุงเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ก่อนเพนตากอนตัดสินใจว่าจะผลิตออกมาประจำการในกองทัพสหรัฐเป็นจำนวนมากหรือไม่
"โดรนขนาดจิ๋วนั้นเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะคุณสามารถใช้อากาศยานเหล่านี้ได้ทุกที่ โดยเป้าหมายแทบไม่ทันรู้ตัวว่ากำลังถูกจ้องมองอยู่" ซิงเกอร์ กล่าว
ด้าน ท็อดด์ ฮิลตัน เจ้าหน้าที่เพนตากอน ในฐานะผู้จัดการโครงการนาโน ฮัมมิ่งเบิร์ด แถลงว่า
"ความสำเร็จของโครงการนี้จะช่วยเปิดทางให้กับการสร้างอากาศยานรุ่นใหม่ๆ ซึ่งลอกแบบจาก ′นก′ ตัวเล็กๆ"
แม็ต คีนนอน ผู้จัดการโครงการจากฝั่งแอโรวิรอนเมนต์ เปิดเผยว่า
กว่าที่ "นาโน ฮัมมิ่งเบิร์ด" จะออกมาเป็นรูปเป็นร่างขนาดนี้จากแบบตั้งต้นในกระดาษเปล่าๆ นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะทีมผู้พัฒนาต้องหาทางเอาชนะข้อจำกัดด้านการบินหลายประการ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อจำกัดด้านหลัก "กลศาสตร์"
"สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ คือ การบินรูปแบบใหม่ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา โดยมีพื้นฐานมาจากแนวคิดในการสร้างเครื่องจักรที่ได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ (biomimicry)" คีนนอน ระบุ
และเชื่อว่า เมื่อพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ นาโน ฮัมมิ่งเบิร์ด จะบินไปได้ไกลมากขึ้นตามลำดับ
อย่างไรก็ดี คีนนอนบอกด้วยว่า นกฮัมมิ่งเบิร์ดเป็นเพียง 1 ในต้นแบบเท่านั้น เนื่องจากในการสร้าง "โดรนนก" ใดๆ ต้องพิจารณา หรือคำนึงถึง "นกที่มีอยู่จริงในพื้นที่เป้าหมาย" เช่นกัน
"นาโน ฮัมมิ่งเบิร์ด" นับเป็นการปฏิวัติอากาศยานครั้งใหญ่ แต่คงมีคุณประโยชน์ต่อมนุษยชาติยิ่งไปกว่านี้ ถ้านำมาใช้ในงาน "กู้ชีพ-กู้ภัย" ค้นหาผู้ประสบภัยในพื้นที่ที่เข้าถึงยากด้วย นอกเหนือจากนำไปใช้ในวัตถุประสงค์ทางการทหาร!
′นกสายลับ′ สอบผ่านข้อกำหนดทางเทคนิค
"นาโน ฮัมมิ่งเบิร์ด" เป็นหนึ่งในต้นแบบที่ได้จากโครงการสร้างอากาศยานขนาดนาโน (NAV) อากาศ ยานขนาดจิ๋วของเพนตากอน ซึ่งมุ่งไปยังการสร้างโดรนเลียนแบบนก
โดยล่าสุด เจ้านกสายลับ "นาโน ฮัมมิ่งเบิร์ด" ของบ.แอโรวิรอนเมนต์ ผ่านเกณฑ์การทดสอบขั้น 2 ของดาร์ปาเรียบร้อยแล้ว หลังจากสอบผ่าน-เอาชนะข้อกำหนดทางเทคนิค ดังนี้
1. บินอยู่ในอากาศในรัศมี 2 เมตร เป็นเวลา 1 นาที
2. สามารถบินทานแรงต้านจากกระแสลมที่ตีมาจากด้านข้าง (2 เมตรตˆอวินาที)
3. บินอยู่ได้นาน 8 นาที โดยไม่ต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานจากภายนอก
4. บินไปทุกทิศทาง และทำความเร็วบินไป-กลับจากเป้าหมาย ด้วยความเร็วไม่ต่ำกว่า 17 กิโล เมตร/ชั่วโมง
5. สาธิตการบินเข้าออกพื้นที่ภายในอาคาร-ภายนอกอาคาร ผ่านประตูขนาดทั่วไป
6. สาธิตวิธีการบังคับให้เครื่องบิน บินหัวดิ่งลงมายังพื้นเพื่อเก็บภาพเป้าหมายภายในอาคาร โดยที่ผู้ควบคุมเครื่องมองเห็นได้จาก "กล้อง" ของนาโน ฮัมมิ่งเบิร์ด เพียงอย่างเดียว
7. เครื่องบินต้องบินด้วยการกระพือปีกเหมือนนก และมีรูปทรงเหมือนนก
สำหรับคลิปวิดีโอแสดงความสำเร็จการทดสอบ "นาโน ฮัมมิ่งเบิร์ด" เข้าชมได้ที่เว็บไซต์ยูทูบ พิมพ์คำว่า nano hummingbird หรือเข้าไปยังเว็บไซต์ http://www.avinc.com/nano
เครื่องบินสอดแนมรูปโฉม′ค้างคาว′
ปัจจุบัน ข้อมูลจากเว็บวิกิพีเกียระบุว่า หลายประเทศทั่วโลกมีการนำและกำลังพัฒนาโดรน หรืออากาศยานไร้คนขับ เข้าประจำการในภารกิจสอดแนมทางการทหาร
อาทิ สหรัฐ อังกฤษ จีน แอฟริกาใต้ ปากีสถาน และอินเดีย
ก่อนหน้านี้เมื่อประมาณ 3 ปีก่อน กองทัพบกสหรัฐได้มอบงบประมาณสนับสนุนเบื้องต้น 350 ล้านบาทให้กับมหาวิทยาลัยมิชิแกน เพื่อสานฝันต้นแบบเครื่องบินสอดแนมขนาดจิ๋วในรูปลักษณ์ของ "ค้างคาว" ให้กลายเป็นจริง
เครื่องบินสอดแนมค้างคาวดังกล่าว ใช้ชื่อรหัสว่า "เดอะแบต"
มีขนาดเล็กเพียง 6 นิ้ว ติดตั้งเซ็นเซอร์สื่อสาร จับความเคลื่อนไหวรอบข้าง และติดตั้งกล้องตรงส่วนหัว รวมถึงกล้องจับภาพเวลากลางคืนเพื่อใช้บินเวลากลางคืนเหมือนค้างคาวจริงๆ พร้อมกับมีระบบตรวจจับก๊าซพิษ และรังสีอันตรายต่างๆ
**
Credit :http://www.khaosod.co.th/