วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แพทย์แผนไทย ชนะโรค "สะเก็ดเงิน"

หลายคนอาจจะประสบโรคสะเก็ดเงิน แต่รู้ไหมว่าจะสังเกตอาการ และรู้วิธีการเลี่ยงอาหาร รวมทั้งการรับประทานยาเพื่อรักษาโรคสะเก็ดเงินได้อย่างไร
รคสะเก็ดเงิน หรือโรคเรื้อนมูลนก นั้น ใครหลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินมาบ้างแล้ว และหลาย ๆ คนอาจจะประสบกับปัญหาโรคสะเก็ดเงิน
  ทั้งนี้ คลีนิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคสะเก็ดเงิน ตลอดจนเกร็ดการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยที่ประสบปัญหาสังเกตอาการของตนเอง และรู้วิธีการเลี่ยงอาหาร รวมทั้งการรับประทานยาเพื่อรักษาโรคสะเก็ดเงิน
รู้จักโรคสะเก็ดเงิน
  โรคสะเก็ดเงินนั้น มีสาเหตุเกิดจากระบบเลือดและระบบน้ำเหลืองที่ผิดปกติ ทำให้น้ำเหลืองเสีย โดยแสดงอาการในลักษณะของผื่นที่ผิวหนัง
  ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีลักษณะอาการ กล่าวคือ ผิวหนังมีรอยผุดขึ้นเป็นแว่น เป็นวงตามผิวหนัง เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง มีสีขาว ขอบนูนเล็กน้อย มีอาการคันร่วมด้วย เมื่อนานเข้าจะลามไปทั่วร่างกาย
 อาการเริ่มต้นของโรคนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการคันที่หนังศีรษะ มีสะเก็ดคล้ายรังแคแต่มีขนาดใหญ่กว่า เป็นเรื้อรัง ใช้แชมพูขจัดรังแค อาการก็ยังไม่หาย หรือมีสะเก็ดสีขาวขึ้นตามข้อศอก ข้อพับต่าง ๆ ในช่วงที่อาการแห้ง หรืออากาศเย็น อาการจะกำเริบมากขึ้น
  เมื่อไม่ได้รับการรักษา โรคจะลามเข้าไปในเล็บทำให้เล็บเหลือง เป็นคลื่น คล้ายดอกเล็บสีขาวแต่มีขนาดใหญ่กว่าดอกเล็บ คล้ายกับมีเชื้อราลงที่เล็บ
  หากเป็นเรื้อรัง และรับการรักษาไม่ต้องเนื่อง พร้อมกับรับประทานอาหารแสลงอยู่เรื่อย ๆ จะทำให้อาการของสะเก็ดเงินลามเข้าไปในข้อและกระดูก ส่งผลให้ผู้ป่วยให้มีอาการปวดตามข้อและกระดูกตามมา เมื่อทิ้งไว้นานจะทำให้เกิดอาการข้อผิดรูป หงิก งอ โดยเฉพาะข้อมือ และข้อเท้า
  ปัจจุบัน โรคสะเก็ดเงินพบได้บ่อยประมาณร้อยละ 2 ของประชากรที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่
การรักษาโรคสะเก็ดเงินตามแนวทางแพทย์แผนไทย
  เมื่อมีผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินเข้ารับการรักษา แพทย์แผนไทยจะทำการประเมินผู้ป่วยก่อน โดยพิจารณาจาก
  1. ภาวะความเครียด ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งได้จากการซักประวัติและสังเกตบุคลิก อารมณ์ สีหน้า ฯลฯ
  2. ลักษณะของผิวหนัง เช่น ผื่น สีผิว ความร้อน-เย็น ตำแหน่งของผื่น
  3. ลักษณะของเล็บ มักจะพบลักษณะเล็บของผู้ป่วยผิดปกติ เช่น เป็น Oil Drop (เป็นลักษณะเล็บเป็นคลื่นขรุขระ)
  4. ลักษณะของการขับถ่าย ซึ่งโดยทั่วไป ผู้ป่วยจะมีภาวะท้องผูกร่วมด้วย
ขอบคุณ นสพ กรุงเทพธุรกิจhttp://www.bangkokbiznews.com